นับตั้งแต่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (Airport Rail Link) เปิดให้บริการในปี 2553 จนถึงปัจจุบัน พื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกตลอดจนแนวเส้นทางเดินรถได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า ในรัศมี 1 กม.ทั้ง 8 สถานี ได้แก่ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ รวมถึงพื้นที่ย่าน “พัฒนาการ-เอกมัย” ที่ได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวของเมืองจากฝั่งธุรกิจ CBD ทำให้ทำเลย่านนี้ถูกจับตามองของผู้มองการณ์ไกล ไม่ว่าจะเพื่ออยู่อาศัยหรือการลงทุน เพราะนอกจากพื้นที่จะอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ สถานีรามคำแหงแล้ว ยังเป็นทำเลที่สามารถสัญจรเข้าสู่ใจกลางเมือง ย่านทองหล่อ-เอกมัย ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นที่รอบสถานีรามคำแหงไปจนถึงสถานีสุวรรณภูมิ พบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมรอบสถานีรามคำแหง เนื่องจากราคาคอนโดมิเนียมยังไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับคอนโดมิเนียมในเขตพื้นที่รอบสถานีพญาไท ราชปรารภ และมักกะสัน
ด้วยราคาที่ดินของพื้นที่โดยรอบสถานีพญาไท ราชปรารภ และมักกะสัน มีราคาค่อนข้างสูงและมีจำนวนจำกัด ส่งผลให้ราคาขายคอนโดมิเนียมในย่านดังกล่าว เฉลี่ยสูงกว่า 200,000 บาทต่อตร.ม. ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มรายได้ปานกลางที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เริ่มมองหาคอนโดมิเนียมที่ตั้งอยู่ทำเลที่มีศักยภาพใกล้เคียงกันมากขึ้น และพื้นที่รอบสถานีรามคำแหงก็เป็นทำเลที่สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการ เพราะราคาที่ดินยังไม่สูงมาก สามารถเดินทางเข้า-ออกไปยังย่านใจกลางธุรกิจได้อย่างสะดวกสบาย”
สำหรับทำเลที่ได้รับความนิยมสูงสุดรอบสถานีรามคำแหงคือ ย่าน ”พัฒนาการ-เอกมัย” เพราะเป็นทำเลที่รองรับด้วยระบบรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเส้นสุขุมวิท และในอนาคตอันใกล้ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่เชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ในทำเล EEC ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2566 รวมถึงจะมีโครงการรถไฟฟ้า 3 สายเกิดใหม่ล้อมรอบทำเลพัฒนาการ – เอกมัย ได้แก่ 1.รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี) 2.รถไฟฟ้าสายสีเทา (รามอินทรา – ลำลูกกา) และ 3.รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว – สำโรง) ยิ่งช่วยเสริมศักยภาพให้กับพื้นที่ในอนาคต ขณะเดียวกันยังอยู่ใกล้ทางด่วนหลายสาย ทำให้เดินทางได้หลากหลายรูปแบบ
ด้านราคาขายต่อ ตร.ม.ของคอนโดมิเนียมในย่านนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาทต่อตร.ม. โดยกลุ่มผู้ซื้อส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองหรือซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว เนื่องจากเป็นทำเลที่มีการพัฒนาด้านโครงข่ายคมนาคมอย่างต่อเนื่อง และการเดินทางด้วยรถยนต์ที่สะดวกสบาย สามารถเชื่อมต่อสู่ถนนสายหลักได้หลายสาย อาทิ เพชรบุรี พระราม 9 สุขุมวิท และรายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
ในส่วนของ เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ มีโครงการสร้างเสร็จใหม่พร้อมอยู่ในย่านดังกล่าวได้แก่ โครงการเมทริส พัฒนาการ-เอกมัย (Metris Pattanakarn-Ekkamai) คอนโดมิเนียม Pet-Friendly Residences เป็นโครงการ High Rise สูง 29 ชั้น จำนวน 341 ยูนิตภายใต้คอนเซปต์ “Mid-Century Modern” โดดเด่นด้วยการเลือกใช้โทนสีเหลืองมัสตาร์ด ที่ดูสะดุดตา เพิ่มความเป็นส่วนตัวด้วยยูนิตต่อชั้นสูงสุดเพียง 15 ยูนิต ในแบบ 1-2 นอน ขนาดเริ่มต้นที่ 30.50 ตร.ม. โปร่งโล่งสบายด้วยเพดานสูงถึง 2.65 เมตร โครงการติดกับถนนพัฒนาการ ห่างจากแยกคลองตันประมาณ 600 เมตร ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนเพชรบุรี ถนนรามคำแหง และถนนซอยสุขุมวิท 71 ซึ่งสามารถเดินทางเข้าสู่เอกมัย-ทองหล่อได้อย่างสะดวกสบาย โครงการห่างจากจุดขึ้นลงทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์เพียง 100 เมตร ตอบโจทย์ผู้ที่ใช้ทางด่วนได้เป็นอย่างดี ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ สถานีรามคำแหง เพียง 5 นาที รอบโครงการแวดล้อมด้วยแหล่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตลอดจนสถานพยาบาลและสถานศึกษาชั้นนำอีกมากมาย ในราคาเริ่มต้นเพียง 2.59 ล้านบาท ผู้สนใจสามารถเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ โครงการเมทริส พัฒนาการ-เอกมัย (Metris Pattanakarn-Ekkamai) สามารถลงทะเบียนเพื่อรับข้อเสนอเพิ่มเติมได้ที่ www.major.co.th หรือโทร. 02-116-1111
สำหรับ บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซูรี มีธุรกิจหลักในเครืออยู่ 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.กลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย 2.กลุ่มโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่น ออฟฟิศและโรงแรม 3.กลุ่มธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ มีวิสัยทัศน์ในการเติบโตอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโครงการระดับลักซูรีที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
Comments are closed.