2 ก.ย.—16 ต.ค. 2022

THE NEW ARK EXHIBITION

นิทรรศการ ‘เดอะนิวอาร์ค’ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหีบแห่งพันธสัญญา หรือ ‘Ark of the Covenant’ ซึ่งเป็นหีบไม้หุ้มด้วยทองคำและมีบัญญัติ 10 ประการดั้งเดิม เป็นกฎพื้นฐานที่พระเจ้ามอบกับชาวยิวเพื่อให้ผู้คนปฏิบัติตาม แต่ของศักดิ์สิทธิ์ชิ้นนี้ถูกขโมยไปในระหว่างการบุกยึดกรุงเยรูซาเลม (597 ปีก่อนคริสตกาล) หลายศตวรรษต่อมาผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกพยายามที่จะค้นหาหีบแห่งพันธสัญญานี้ ถึงแม้ว่าอินเดียน่า โจนส์จะค้นพบมันแล้วในภาพยนตร์คลาสสิคของสตีเวน สปีลเบิร์กเรื่อง ‘ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า’ หรือ Raiders of the Lost Ark แต่ในความเป็นจริงกลับดูเหมือนว่ามันจะหายไปแล้วตลอดกาล

เมื่อหีบดังกล่าวหายไป กฎเกณฑ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ดูเหมือนจะหายไปเช่นกัน เราปฏิบัติต่อโลก สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆโดยไร้ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี จนถึงจุดที่เราคุกคามมนุษย์ดัวยกัน

การสร้างสรรค์ ‘หีบแห่งพันธสัญญาใหม่’ (New Ark) เกิดจากการที่ผู้กำกับแจ๊คอยากให้มีการฟื้นฟูและเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ของจักรวาลที่ช่วยให้ทุกชีวิตอยู่ด้วยกัน หีบของเขายังมีกฏ 10 ประการอยู่ แต่ความแตกต่างคือมันไม่ได้เป็นกฏที่มาจากพระเจ้าองค์ใด หากแต่เป็น ‘กฎเรขาคณิตศักดิ์สิทธิ์’ ซึ่งเป็นกฏแห่งจักรวาลที่ใช้ได้กับทุกสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่กระบวนการเติบโตของพืช  สัดส่วนของมนุษย์ จนถึงระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ และโน้ตดนตรี ความคล้ายคลึงกันทางคณิตศาสตร์เหล่านี้เป็นสิ่งเตือนใจถึงกฎของจักรวาล และหลักการอันเป็นหนึ่งเดียวของชีวิต 

Art Can Die เริ่มต้นการจัดทัวร์รอบโลกของนิทรรศการ ‘เดอะนิวอาร์ค’ ในกรุงเทพฯ เพื่อแสดงถึงข้อความแห่งการกลับมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นการเชิญครอบครัวมนุษย์มาร่วมเกิดใหม่ในแบบอัตถิภาวนิยม ในการทัวร์ครั้งนี้ ศิลปินหลายท่านมาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ของตนเองในการคืนชีพนี้ และสร้างสรรค์งานศิลปะที่สามารถช่วยให้ทุกคนละทิ้งพฤติกรรมทำลายล้าง และเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับธรรมชาติอีกครั้ง รวมไปถึงการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและเคารพในสิ่งแวดล้อมของเรา

Venue: RCB Artery ชั้น 1 และ RCB Galleria 3 ชั้น 2

เข้าชมฟรี

Nick Ervinck

นิค เออร์วินค์ (1981) เป็นประติมากรชาวเบลเยียมที่มีชื่อเสียงและช่างฝีมือร่วมสมัยที่ผสมผสานเทคโนโลยีชั้นดีกับการออกแบบที่เป็นนามธรรม แนวคิดดั้งเดิมของศิลปะประติมากรรม และอนาคตเสมือนจริง

ในการปฏิวัติดิจิทัล นิคเป็นศิลปินที่มีวิสัยทัศน์เทียบเท่ากับคนทรงเจ้าหรือหมอผีผู้แหกกฎธรรมชาติประติมากรรมและหน้ากากกลายพันธุ์ ผลงานของเขาที่รวบรวมไว้จากทั่วโลกยังคงสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชม ในฐานะศิลปิน นิคมีความพยายามที่จะผสมผสานธรรมชาติเข้ากับเทคโนโลยี สร้างสิ่งมีชีวิตที่กลมกลืนกันในรูปแบบใหม่ ให้เป็นมนุษย์ที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงโดยสภาพแวดล้อม และเป็นความหวังสุดท้ายในการอยู่รอด นิค เออร์วินค์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างงานจากวัฒนธรรมมังงะของญี่ปุ่น และเฮนรี่ มัวร์ ประติมากรชาวอังกฤษ  ผลงานของเขาเปรียบเสมือนภาพหลอนที่ฉายออกมา เป็นการแสดงออกถึงกฎดั่งเดิมของศิลปะที่แกะสลักบนหิน

ในฐานะผู้คุมประตูของ New Ark นิคได้จัดสร้างชุดประติมากรรมสองชุดคือ Tanalitsur & Tanatiriub ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปีในการเตรียมการและวิจัยเพื่อออกแบบ A first and unicum เป็นงานพิมพ์ 3 มิติโดย มีบริษัทสตราทาซิส (Stratasys) เป็นผู้บุกเบิก ทำให้เกิดงานศิลปะที่ตามกฎของธรรมชาติแล้วไม่สามารถเป็นไปได้

“ผมเป็นนักอนาคตที่ฝันถึงอนาคต ผมสร้างภาพความฝันในจินตนาการ ที่เป็นหน้าต่างให้กับอนาคต”

Ilse Van Roy

อิลเซ่ ฟาน รอย (1978) เป็นศิลปินชาวเบลเยียมที่ทำงานศิลปะหลายแขนง เธอสื่อความเป็นตัวตนผ่านรูปทรงของเหลวจากศิลปะสิ่งทอและแก้ว โดยทั้งสองมิติมีรูปร่างรวมไปถึงรูปแบบลมหายใจที่แตกต่างออกไป

ผู้ชมจะคำนึงถึงสสารและอวกาศ รวมไปถึงโลกีย์และความกล้า ฟาน รอย นำวัสดุสิ่งทอและแก้วไปใช้ในงานศิลปะหัตถกรรมร่วมกับสื่ออื่นๆมากมาย เช่น การถ่ายภาพ วิดีโอ และการพิมพ์ งานของเธอถือเป็นการสนทนาหลายมิติกับโลกรอบตัวเรา 

งานของฟาน รอย มักจะแสดงให้เห็นถึงภาวะซึ่งเราเรียกว่า “เคว้งคว้าง” ซึ่งเป็นภาวะที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน อยู่ที่ขอบเหว แสนจะเปราะบาง ผลงานใหม่ของเธอ ‘เมล็ดพันธุ์สีน้ำเงิน’ แสดงออกถึงรูปร่างที่บริสุทธิ์ที่สุดด้วยไข่สีน้ำเงินอันเปราะบางในแก้วที่วางอยู่บนไม้ที่ถูกไฟไหม้ กำเนิดจากไฟและพร้อมที่จะฟักออกมา เพราะมนุษยชาติบริสุทธิ์กลุ่มใหม่จำเป็นต้องปรากฏตัวขึ้นจากการทำลายล้างของตนเอง

ฟาน รอย นำเสนอคอลเลกชันเมล็ดพันธุ์สีน้ำเงินชุดแรกของเธอที่รังสรรค์ขึ้นโดยช่างฝีมือชั้นยอดในการเป่าแก้ว เพื่อสำรวจต้นกำเนิดอันศักดิ์สิทธิ์ของเราครั้งใหม่ และเป็นจอกศักดิ์สิทธิ์ที่มาพร้อมกับ The New Ark ในการทัวร์รอบโลก

“ให้เวลากับตัวเองเพื่อเดินเตร่ออกไป ปิดหูกับเสียงทั้งเมืองและเสียงทั้งหมด รู้สึกถึงสิ่งที่ต้องการให้คุณก้าวเข้ามา จึงจะมีเทวภาวะเกิดขึ้น ก่อให้เกิดความตึงเครียดและเรื่องเล่า”

Suwat Boontam

สุวัฒน์ บุญธรรม (1982) เป็นศิลปินไทยที่ได้รับรางวัลหลากหลายจากผลงานจิตรกรรมผสมผสานสไตล์อันโดดเด่นและงานแกะสลักบนไม้ การแปรงพู่กันด้วยมีดและสิ่วทำให้เขาเป็นประติมากรมากกว่าจิตรกร งานของเขาทำให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ที่ดึงดูดใจในแนวอิมเพรสชันนิสม์ของฝรั่งเศส คอนสตรัคติวิสต์ของรัสเซีย และงานเซอร์เรียลลิสต์ทางสถาปัตยกรรม

ภาพวาดของเขาส่วนใหญ่เป็นภาพขาวดำที่มีความละเอียดเทียบเท่ากับความแม่นยำทางเรขาคณิต เมืองในจินตนาการที่ไม่อยู่นิ่งในฝันของเขาได้รับการอนุรักษ์ให้พ้นภัยจากมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตใดๆ และอยู่ในการก่อสร้างและการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตึกอาคารทั้งในแนวความคิดและในเชิงเปรียบเทียบนั้นอยู่ระหว่างนามธรรมและภาพถ่าย

สุวัฒน์ บุญธรรม ร่วมมือกับผู้กำกับแจ๊ค เพื่อสร้าง ‘New Ark’ (หีบพันธสัญญาใหม่) และสร้าง ‘ASTRACT MAN TRIPTYCH’ (นามธรรม มนุษยชาติ บานพับภาพสาม) ของตัวเองโดยเฉพาะสำหรับนิทรรศการนี้

Thongmai Thepram

ศิลปินที่ขึ้นแท่นศิลปินชั้นนำ ทองไมย์ เทพราม (1983)  เขาได้รับรางวัลยอดเยี่ยมด้านศิลปกรรมจากงานศิลปะระดับเอเชียมากมาย เขาสร้างภาพวาดที่มีสีสันและมีความสนุกสนาน ผ่านเรื่องราวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเทพนิยาย ผสมผสานกับศิลปะแบบป๊อปอาร์ต เซอร์เรียลลิสต์ และอนิเมะหรือการ์ตูนญี่ปุ่นได้อย่างเชี่ยวชาญ

เบื้องหลังผลงานอันบริสุทธิ์เหล่านี้ ทองไมย์สนใจในประเด็นนิเวศวิทยาและปัญหาโลกร่วมสมัย ทองไมย์ใช้ใบหน้าลูกของเขาแทนเด็กและมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ และสร้างตัวละครต่างๆ ที่สวมชุดฮีโร่จากการ์ตูน ภาพยนตร์ รวมไปถึงเรื่องราวทางศีลธรรมที่มีบุคลิก นิสัย หรือพฤติกรรมเป็นแบบอย่างอันถูกต้องและดีงามตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

ทองไมย์วาดภาพ “Stop for everyone for everything” (หยุดเพื่อทุกคนเพื่อทุกสิ่ง) เพื่อนิทรรศการเดอะนิวอาร์ค  ผลงานอันโดดเด่นชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเหล่าเทพแห่ง The New Ark ที่กำลังปกป้องหีบและมนุษยชาติ

“ผมมีความฝันและหวังว่าลูกๆ ของผมและเด็กทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้มีกฎเกณฑ์ในการดำรงชีวิต ให้พวกเขาก้าวไปข้างหน้าโดยใช้ปัญญา สติ และความดีเป็นพื้นฐานหลักธรรมในชีวิต”

Vipoo Srivilasa

วิภู ศรีวิลาศ (1969)  ศิลปินที่ทำงานศิลปะหลายแขนงชาวไทย ผู้พำนักอยู่ที่ออสเตรเลีย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักสร้างสรรค์งานเครื่องเคลือบ เซรามิก และงานประติมากรรมสื่อประสม รูปปั้นสำริด และศิลปะแบบที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ในฐานะที่วิภูเป็นภัณฑารักษ์ ที่ปรึกษา และนักเคลื่อนไหว เขาได้นำเสนอหัวข้อที่เป็นประเด็นสำคัญ เช่น ความเท่าเทียมทางเพศและความหลากหลายทางวัฒนธรรมอีกด้วย

วิภูมีโอกาสแสดงผลงานในพิพิธภัณฑ์และเทศกาลสำคัญระดับนานาชาติทั่วโลกตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา รวมทั้งพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ (บอสตัน), หอศิลป์ Saatchi (ลอนดอน), สถาบันศิลปะหนานจิง (จีน) และงาน Asia Pacific Triennial ครั้งที่ 10 ในปี ค.ศ. 2021 วิภูได้รับรางวัล Artist of the Year จาก The American Ceramics Society ประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับนิทรรศการนี้ วิภูได้สร้างงานศิลปะจัดวางพิเศษชื่อ “Room for Spirit and Time” (ห้องสำหรับวิญญาณและเวลา) ซึ่งเป็นรูปปั้นมัลติมีเดียที่ผู้เข้าชมสามารถก้าวเข้าไปสัมผัสประสบการณ์การบำบัดด้วยแสง เสียง และกลิ่น งานศิลปะชิ้นนี้เชิญชวนให้ผู้มาเยือนเข้าร่วม ‘พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน’ เพื่อเตรียมเขาให้พร้อมสำหรับการเกิดใหม่ในสังคมใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลง

“ศิลปะหมายถึงความสุข เพราะเมื่อผมสร้างงานศิลปะ มันทำให้ผมมีความสุข และเมื่อคนดูงานศิลปะของผม พวกเขามีความสุข…ความสุขคือศิลปะ”

ร่วมกับ SAC GALLERY

Pichai Pongsasaovapark

พิชัย พงศาเสาวภาคย์ (1963) เป็นศิลปิน ดีไซเนอร์ และช่างภาพชาวไทย เขาใช้สีอะครีลิก สื่อประสม และภาพถ่ายเพื่อสร้างสรรค์งานจิตรกรรมนามธรรมและศิลปะเชิงแนวคิด (Conceptual art)

ในปีค.ศ. 2018 เขาได้รับเชิญให้นำเสนอผลงานในการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมประจำปีขององค์การสหประชาชาติในกรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยผลงานของเขาเริ่มเด่นชัดในประเด็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ธรรมชาติ และได้มีการกล่าวถึงปัญหาที่เป็นประเด็นอื่นๆในสังคม ในปัจจุบันเขาได้มุ่งความสนใจไปที่ประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

เนื่องจากพิชัยเคยทำงานเป็นสถาปนิก เขาจึงมีความเชี่ยวชาญในการมองหาโครงสร้างและรูปแบบในวัตถุและงานศิลปะ ในขณะเดียวกัน เขาก็สามารถเปิดรับเครื่องมือและวัสดุที่ใช้สร้างงานศิลปะอันแปลกใหม่ เช่น การใช้คาร์บอนไอเสียรถยนต์ กระดาษรีไซเคิล น้ำเน่า และล่าสุดคือปุ๋ย และเครื่องอบไอน้ำเพื่อบดดอกไม้ ผัก เมล็ดกาแฟ และอ้อย

พิชัยสร้างสรรค์ “Timeless Space Art Travel” งานศิลปะจัดวางพิเศษที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแท่งโลหะของสแตนลีย์ คูบริกจากภาพยนตร์เรื่อง 2001 จอมจักรวาล หรือ “2001: A Space Odyssey” 

เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับชะตากรรมอันเลวร้ายของโลกของเรา พิชัยได้เตรียมมนุษยชาติให้พร้อมที่จะออกจากโลกโดยนำสิ่งที่น่าจดจำเป็นตำนานและสมบัติอันล้ำค่าติดตัวไปด้วย นั่นคือศิลปะของโลก ด้วยสัมผัสแห่งจินตนาการ การติดตั้งจะประกอบด้วยแผนแม่บทในการนำในส่วนของพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดออกสู่อวกาศร่วมกับเรา ร่วมกับ SAC GALLERY 

Alessandro Sicioldr

อาเลสซานโดร ซิชอลเดอร์ (1990) เป็นจิตรกรชาวอิตาลี แนวสัญลักษณ์นิยมสมัยใหม่

อาเลสซานโดรผสมผสานทักษะวาดภาพอันเก่าแก่ของปรมาจารย์ชาวเฟลมิชเข้ากับความกลมกลืนอันมีสีสันของนักปรัชญายุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (เรเนซองส์ แมนเนอริส) เขาสนใจในความไร้เหตุผลและการสำรวจจิตใจมนุษย์ตามแนวทางศิลปะเซอร์เรียลลิสต์  เขาสร้างฉากที่ชวนฝันและน่าทึ่งด้วยตัวละครจากมิติแห่งอนาคตอื่นที่แสดงให้เห็นถึงตัวตนภายในและจิตใต้สำนึกของเขา อเลสซานโดรพรรณนาสิ่งมีชีวิตในตำนานของเขาเองราวกับว่าเขากำลังพยายามเชื่อมต่อกับอดีตที่หลงทางและชั่วร้าย ผลงานชิ้นเอกอันลึกลับของเขาทำให้ผู้ชมรู้สึกได้ถึงความงามและความเศร้าโศกที่ไม่มีใครแตะต้องได้

เนื่องในโอกาสจัดแสดงนิทรรศการ ‘เดอะนิวอาร์ค’  ในครั้งนี้  Art Can Die นำเสนอภาพวาดล่าสุดของเขาสองภาพที่เกี่ยวข้องกับธีมของนิทรรศการ ภาพ ‘Incoronazione’ แสดงพิธีสวมมงกุฎของสิ่งมีชีวิตต่างดาวสีน้ำเงิน และ ‘Il Maestro o La Voce’ ต้นไม้ที่ให้แสงสว่างเป็นพรแก่ใบหน้าของตัวละครหญิง สองภาพวาดนี้แสดงถึงความปรารถนาในอนาคตใหม่อันเลิศเลอ

“กฎและขอบเขตไม่มีประโยชน์เมื่อต้องรับมือกับอภิปรัชญา ดังนั้นผมจึงปล่อยให้โลกภายในของผมพูดโดยไม่ต้องถามคำถาม”

“ผมคิดว่าศิลปะนั้นไม่ได้เป็นแค่ข้อความเดียว ผมคิดว่าศิลปะเกิดจากสัญชาตญาณที่บอกไม่ถูก ความคลุมเครือ บรรยากาศของบทกวี และผมก็เชื่อว่าหากชีวิตภายในของศิลปินค่อนข้างสมบูรณ์และเข้มข้น งานของเขาก็จะสมบูรณ์และเข้มข้นเช่นกัน”

Daniel Martin Diaz

แดเนียล มาร์ติน ดิอาซ (1967) เป็นศิลปินและนักดนตรีชาวอเมริกัน งานของเขาได้รับการจัดแสดงทั่วโลกและได้รับการตีพิมพ์ใน LA Times, NY Times, Juxtapoz, High Fructose ฯลฯ รวมถึงหนังสือห้าเล่มที่อุทิศให้กับงานศิลปะของเขา ดิแอซได้ออกแบบงานศิลปะสำหรับโครงการศิลปะสาธารณะขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลอีกมากมาย เช่น แผ่นเสียงทองคำและแพลตตินั่มที่ออกแบบมาสำหรับแอตแลนติกเรคคอร์ดโดยเฉพาะ เขายังมีส่วนร่วมในโครงการดนตรีต่างๆ นอกจากนี้ดิอาซยังได้รับอิทธิพลในด้านการผสมผสานจากเม็กซิกันเรทาโบลส์ที่น่าอัศจรรย์ การถวายคำอธิษฐานลึกลับ จิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ยุคแรก การตกแต่งแบบโกธิค การเล่นแร่แปรธาตุ ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ ตลอดจนสัญลักษณ์ที่คัดมาจากสมาคมลับต่างๆ

ภาพวาดบนกระดาษรีไซเคิลของเขาดูเหมือนมาจากนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามพิสูจน์และหาความเชื่อมโยงของเรขาคณิต นักบุญคาทอลิก และยูเอฟโอ ภาพที่ดูน่าทึ่งในรายละเอียดและความสมบูรณ์แบบทางคณิตศาสตร์ การพรรณนาทางศาสนาที่ดูเหมือนของเขากำลังแสดงให้เราเห็นถึงความประทับใจส่วนตัวของเขาเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันของโลกด้วยความหลงผิดและความไร้สาระทั้งหมดโดยไม่ละสายตาจากความคงอยู่ของพระเจ้า

สำหรับนิทรรศการ ‘เดอะนิวอาร์ค’ ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ Art Can Die ได้นำเสนอเฉพาะภาพวาดล่าสุดบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับธีมอภิปรัชญา (Metaphysic I – IV) ที่แสดงถึงกฎทางเรขาคณิตในขณะที่ ‘ระบบคอมพิวเตอร์สากล’ ฉายภาพการทำงานลึกลับของคอมพิวเตอร์แห่งจักรวาล

“เมื่อเราพยายามทำความเข้าใจจุดยืนของเราในจักรวาล ศิลปะสามารถเป็นส่วนสำคัญของบทสนทนาที่เราสร้างขึ้นมาและแบ่งปันซึ่งกันและกันได้ ในงานของผม ผมพยายามที่จะเปิดเผยความลึกลับด้วยภาพลี้ลับและเทคนิคที่สำหรับผม ถือเป็นการลงลึกในระดับที่ไม่สามารสรรหาเป็นคำพูดได้”

Marisa Papen

มาริสา ปาเปิน  (1992) ศิลปินชาวเบลเยี่ยม เป็นนักกวี และนักธรรมชาตินิยม เธอเป็นที่รู้จักในข่าวทั่วโลกจากการกระทำอันกล้าหาญในเชิงเสียดสี ในการเปลื้องผ้าต่อหน้าวัดศักดิ์สิทธิ์ เช่น มัสยิดฮายาโซฟีอาในตุรกี ปิรามิดในอียิปต์ วาติกันในกรุงโรม และกำแพงตะวันตกหรือกำแพงประจิมในเยรูซาเลม 

มาริสาปรารถนาให้ร่างกายของผู้หญิงถูกลดทอนความเป็นเพศลง และแสดงมันออกมาในโลกขาดสายสัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ เธอเคยร่วมงานกับช่างภาพที่มีชื่อเสียงระดับโลกและศิลปินหลากหลาย และได้ใช้ร่างกายของตัวเองเป็นสัญลักษณ์สำหรับสายสัมพันธ์นั้นและเป็นวิธีเชื่อมต่อกับตัวตนของพวกเขาเอง

ศิลปะและการกระทำของเธอเป็นแรงบันดาลใจให้มีการเสวนาเกี่ยวกับความเท่าเทียมและเสรีภาพที่มากขึ้นทั้งในระดับการเมือง ปรัชญา และจิตใจ

ในนิทรรศการนี้ มาริสานำเสนองานทัศนศิลป์ชิ้นแรกของเธอ ซึ่งจัดแสดงเป็น 2 ผลงาน บริเวณทางเข้านิทรรศการ ทุกคนจะได้รับเชิญให้เดินผ่านประตูดอกไม้  ซึ่งเป็นคำเชิญให้เกิดใหม่ผ่านทางผลงาน ‘ประตูแห่งชีวิต’ ในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมา มาริสาสร้างภาพวาด 13 ภาพต่อเนื่องกัน โดยใช้เลือดประจำเดือนของเธอเองที่สะท้อนพระจันทร์เต็มดวง งานนี้มีชื่อว่า ‘กระแสแห่งชีวิต’ ซึ่งเป็นเครื่องเตือนใจที่สดใสเปี่ยมด้วยพลังว่าตัวเรานั้นคือส่วนหนึ่งของวัฏจักรแห่งชีวิต การแสดงออกในเชิงพิธีกรรมนี้ แสดงให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในความเป็นผู้หญิงของเธอโดยไม่มีความละอายหรือรังเกียจแต่อย่างใด

“ฉันเปลื้องผ้าออกหน้ากล้องเป็นครั้งแรกตอนอายุ 22 ปี ฉันยังจดจำความรู้สึกอันเป็นเสรีและการแสดงออกนี้ที่เติมเต็มฉันได้อย่างน่าทึ่ง”

Michael Hutter

ไมเคิล ฮัตเตอร์ (1963) ศิลปินชาวเยอรมันผู้เต็มไปด้วยจินตนาการ ผู้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงานศิลปะคนเดียว ใคร่ครวญเงียบๆ และทำงานด้วยความคลั่งไคล้ รูปแบบศิลปะดั้งเดิมและบริสุทธิ์ของเขาทำให้เรานึกถึงปรมาจารย์ด้านศิลปวิทยา เช่น ฮีเยโรนีมึส โบส (Hieronymus Bosch) และศิลปินแนววิทยาศาสตร์อย่าง เฟลิเซียง รอปส์ (Félicien Rops) หรือ เจมส์ เอ็นเซอร์ (James Ensor) เขาผสมผสานงานฝีมือและงานที่ได้รับแรงบันดาลใจ โดยเน้นถึงความสยองขวัญในจักรวาล ความหลงใหลในศาสนา จินตนาการของชนเผ่าลึกลับ และความสนุกสนานทางเพศ

ไมเคิล ฮัตเตอร์ สร้างแท่นบูชาขนาดใหญ่ โดยมี 5 แผ่นแรกเป็นงานจิตรกรรมใช้ชื่อว่า “The Triumph of the Ark” (ชัยชนะของอาร์ค) เพื่อเป็นเกียรติแก่ New Ark องค์ประกอบหลายอย่างของผู้กำกับแจ๊ค และศิลปินท่านอื่นๆของนิทรรศการได้ถูกเพิ่มเข้าไปในงานชิ้นนี้อีกด้วย โดยระหว่างการทัวร์ไมเคิลจะเพิ่มงานมากขึ้นรื่อยๆในผลงานชิ้นเอกของเขา

“ผมตัดสินใจที่จะเป็นศิลปินแทนที่จะเป็นคนคลั่งศาสนา ผมยังคิดว่านี่เป็นทางเลือกที่ดีอยู่”

“ผมไม่สนใจเกี่ยวกับความเป็นจริงหรือความน่าจะเป็นที่จะมีบางสิ่งบางอย่างเป็นจริง เพียงแค่ให้สิ่งนั้นมากระตุ้นจินตนาการของผม ผมคิดว่าความจริงก็ยังเป็นภาพลวงตาอยู่ดี”

Stéphane Blanquet

สเตฟาน บลองเกต์ (1973) ศิลปินมัลติมีเดียชาวฝรั่งเศสที่เคยทำงานศิลปะมาหลากหลายแนวทาง ทั้งศิลปะใต้ดิน ศิลปะจัดวาง ศิลปะแนวสตรีท ศิลปะร่วมสมัย ภาพยนตร์แอนิเมชั่น โรงละคร หนังสือ การกำกับศิลป์ ฯลฯ

ผลงานของบลองเกต์ นำเสนอนิยายเรื่องราวเทพปกรณัมในรูปแบบของเขาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมป๊อป ลานกิจกรรม และภาพลวงตาอันเต็มไปด้วยมนต์ขลัง ภาพวาดของเขามีเรื่องราวและรายละเอียดหลายประการ ทั้งบรรยากาศที่ดูวุ่นวายของพวกกามวิตถาร ความจงรักภักดีของนักบวชสมัยใหม่  งานของเขามีองค์ประกอบของศิลปะอาร์ตบรูต หรือศิลปะดิบ และศิลปะคนนอก ผสานกับกลิ่นอายความสมบูรณ์แบบและความกลมกลืนของศิลปินคลาสสิกร่วมสมัย จึงทำให้ของเขามีเอกลักษณ์และเป็นที่จดจำในทุกตารางนิ้วของผืนผ้าใบ ผลงานล่าสุดของบลองเกต์คือ “สีแดง” ที่ทำให้เขารู้สึกตื่นเต้นในการการสร้างผลงานชิ้นนี้

สำหรับนิทรรศการนี้ บลองเกต์ ได้สร้างภาพวาด ‘L’exaltation’ ขนาด 3 คูณ 2 เมตรโดยได้รับแรงบันดาลใจจากภารกิจของ New Ark

Mu Pan

ศิลปินจากบรู๊คลิน นิวยอร์ค มู ปัน (1976) เป็นที่รู้จักจากภาพเขียนที่เป็นมหากาพย์และเล่าเรื่องขนาดใหญ่ซึ่งมีสัตว์และสัตว์ครึ่งมนุษย์ที่ถูกวาดขึ้นอย่างแม่นยำ โดยเขามักใช้ภาพวาดในฉากการต่อสู้แบบกึ่งประวัติศาสตร์ ตำนาน และวัฒนธรรมป๊อป

สัตว์ประหลาดในภาพวาดของเขาแสดงถึงปัญหาในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเขา ตั้งแต่ภาวะโลกร้อน การเหยียดเชื้อชาติ หรือลัทธิเผด็จการ มู ปันเชื่อว่าสงครามสร้างตัวละครชั้นเยี่ยม และศิลปินที่เก่งกาจเท่านั้นที่จะเป็นผู้บัญชาการในสงครามครั้งนี้

การวาดภาพและภาพวาดจึงเป็นวิธีที่ชัดเจนที่สุดในการเรียกร้องความยุติธรรมสำหรับเขา เขาใช้การสร้างสรรค์เป็นข้ออ้างเพื่อเน้นย้ำทุกอย่างที่เขาไม่ชอบ เช่น ความรุนแรง ความขัดแย้ง หรือคำโกหก

มู ปัน ร่วมกับ Art Can Die ในการสร้างสรรค์งานประติมากรรมช้างเอราวัณในตำนานสูง 1 เมตร สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ นี่เป็นครั้งแรกที่เขาจะได้ผลักดันและทดลองศิลปะสามมิติ รูปปั้นนี้ถือเป็นผู้คุมประตูศิลปะของ The New Ark และจะปกป้องหีบอันศักดิ์สิทธิ์ในขณะที่มีการจัดแสดงทัวร์รอบโลก

“ผมใฝ่ฝันที่จะมีอำนาจเหนือกว่าในการปกครอง การทำลาย และปลูกฝังความกลัวให้ศัตรูของผม แน่นอนว่ามันเป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครสามารถมีอำนาจแบบนี้ได้ในโลกปัจจุบัน ดังนั้นผมจึงสร้างโลกของตัวเองด้วยภาพของผมเอง และในภาพเหล่านั้น ผมสามารถเป็นอะไรก็ได้ที่อยากเป็นและกัดกินใครก็ได้ที่ผมเกลียด สัตว์ประหลาดทุกตัวที่ผมวาดจริงๆแล้ว เป็นภาพเหมือนตนเอง”

ผู้กำกับแจ๊ค

ผู้กำกับแจ๊ค คือครีเอเตอร์จากนอกโลก ที่ปฏิบัติงานจากยานอวกาศ JTI333 และกำลังหลงทางอยู่ที่ใดสักแห่งในอวกาศท่ามกลางหมู่ดาว

ผู้กำกับแจ๊ค สื่อสารกับโลกผ่านงานปักที่เขาส่งมาจากยานอวกาศ ตรงกลางยานของเขามีโบสถ์อวกาศซึ่งเป็นที่ตั้งของ ‘New Ark’ (หีบพันธสัญญาใหม่) แสงแบบอินเทอร์แอคทีฟในประติมากรรมศักดิ์สิทธิ์นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรักษาและเผยแพร่กฎเรขาคณิตศักดิ์สิทธิ์ 10 ประการของจักรวาล โดยมีการสตรีมถ่ายทอดสดทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เพิ่มแสงไฟและโน้ตดนตรี เพื่อทำให้ชิ้นงานกลายเป็นดั่งซิมโฟนีของมนุษยชาติ

ภาพวาดปักและเสื้อคลุมของเขาเปรียบเสมือนเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรของสังคมชนเผ่าที่สูญหายหรือยังไม่เคยถูกค้นพบ และถูกแต่งขึ้นด้วยงานฝีมือระดับสูงและรูปทรงเรขาคณิตอย่างกลมกลืน

Art Can Die นำเสนอนิทรรศการทางกายภาพครั้งแรกซึ่งผู้ชมจะได้เห็นผลงานภาพปักอันศักดิ์สิทธิ์ของเขา นอกเหนือจากไฮไลท์ของนิทรรศการซึ่งก็คือ ‘THE NEW ARK’ (หีบแห่งพันธสัญญาใหม่) แล้ว ผ้าคลุมปักทั้ง 10 ผืนที่จัดแสดงในพื้นที่ RCB Artery ชั้นล่าง ยังเป็นตัวแทนของหลักการสากลทั้ง 10 ประการที่แสดงให้เห็นใน New Ark อีกเช่นกัน

รวมถึงศิลปินไทยอย่าง “สุวัฒน์ บุญธรรม” ผู้เคยคว้ารางวัลมาแล้วมากมายจากผลงานจิตรกรรมผสมผสานสไตล์โดดเด่น ซึ่งได้ร่วมโชว์ฝีมืองานแกะสลักไม้ “หีบแห่งพันธะสัญญา” (New Ark) ปะติมากรรมชิ้นไฮไลท์ของงานอาร์ตครั้งนี้ ขนาดใหญ่กว่า 5 ตารางเมตร สายอาร์ตชาวไทยห้ามพลาด! รอบปฐมทัศน์วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายนนี้ ณ​ ริเวอร์ ซิตี้ กรุงเทพ (River City Bangkok) ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้บนเว็บไซต์ https://www.artcandie.com/