ทุกวันนี้เราจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับภัยของโลกออนไลน์อยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการแฮกข้อมูลจากพวกแฮกเกอร์ ลิงค์สแปมจากผู้ไม่หวังดีที่แฝงตัวอยู่ตาม Facebook Sms Messenger แอปพลิเคชั่น สื่อโซเชียลอื่นๆ หรือแม้แต่แก๊งค์คอลเซ็นต์  มีรายงานพบว่า ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ตกเป็นเหยื่อเหล่าอาชญากรรมทางคอมพิเตอร์ผ่านการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับโซเชียลมีเดียถึง 81% และอีก 35% เป็นผู้ที่ใช้งานโซเชียลมีเดียโดยตรง

รูปแบบกลลวงอาชญากรรมไซเบอร์

โดยรูปแบบที่พบเจอได้อยู่บ่อยๆ จะเป็นการ แอบอ้างหรือสวมรอย เป็นบุคคลอื่นที่มีรูปลักษณ์ สวย หล่อ ดูดี โดยใช้รูปและชื่อปลอม พูดคุยชักชวนให้หลงเชื่อ เพื่อหวังในทรัพย์สินเงินทองของเหยื่อ การหลอกให้ลงทุนโดยดึงดูดด้วยผลตอบแทนกำไรหลายเท่า การหลอกขายผลิตภัณฑ์สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ รวมไปถึงอาชญากรรมทางเพศ

  • “เบอร์โทรศัพท์ของท่านกำลังจะถูกระงับการใช้งาน เนื่องจากมีการร้องเรียนเข้ามายังหน่วยงาน เพื่อตรวจสอบกรุณา กด 9 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่”
  • “ขอแสดงความยินดี คุณเป็นผู้โชคดีได้รับเงินรางวัล จำนวน 100,000-200,000 บาท กรุณากดลิงค์ด้านล่างเพื่อรับเงิน”
  • มิจฉาชีพอ้างเป็นสรรพากรส่งลิงก์ให้คลิก ถูกดูดเงินเกลี้ยงบัญชี”
  • “กู้เงินออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น สมัครง่าย แต่ไม่ได้เงินจริง”

ในบางครั้งอาชญากรรมบนโลกออนไลน์เหล่านี้ก็มาในรูปแบบของหน่วยงานรัฐ เอกชน ที่ดูน่าเชื่อถือ อ้างอิงถึงการกระทำความผิดร้ายแรง ที่ขัดต่อกฎหมายของประเทศ และกำลังถูกดำเนินคดีหรือถูกอายัด  เพื่อให้พ้นข้อกล่าวหาและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ แก๊ง 18 มงกุฎ ก็จะออกอุบายให้เราโอนเงินในบัญชีทั้งหมดที่มีอยู่ ไปยังบัญชีหน่วยงานจอมปลอมเพื่อตรวจสอบ หลายคนหลงเชื่อตกเหยื่อสูญเงินจำนวนมาก มูลค่าความเสียหายคิดเป็นจำนวนมหาศาล

สแกน QR Code เว็บไซต์ปลอม หรือหลอกให้ดาวน์โหลดมัลแวร์หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเว็บไซต์จริง หรือแอปพลิเคชันจริง ทำให้หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล รหัสผ่าน หรือติดตั้งไวรัสคอมพิวเตอร์ลงในอุปกรณ์ของตนเอง

นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของรูปแบบการโจรกรรมของอาชญากรรมไซเบอร์ จริงๆแล้ว มิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ มีการปรับเปลี่ยนกลอุบายอยู่เสมอ เราจึงต้องเรียนรู้เท่าทัน และเพิ่มวิธีป้องกันและรับมือได้อย่างทันท้วงที

วิธีใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย ห่างไกลโจร

  1. ไม่กดลิงค์ที่มาจาก SMS อีเมล์ หรือ ข้อความ ที่เราไม่ทราบที่มา ตั้งค่าการแจ้งเตือนบนคอมพิวเตอร์และมือถือ เพื่อป้องกันไม่ให้คลิกลิงค์ที่เป็นอันตรายโดยไม่รู้ตัว
  2. ไม่กดรับเพื่อนกับบุคคลที่เราไม่รู้จัก เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่หวังดีแฝงตัวเข้ามาขโมยข้อมูลส่วนตัว
  3. หลีกเลี่ยงการเช็คอินที่เป็นสถานที่อยู่อาศัย บ้าน ที่ทำงาน ระวังเรื่องการลงข้อมูลส่วนตัว ชื่อ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ ภูลำเนา ทะเบียนรถ เบอร์โทรศัพท์
  4. ไม่ควรอนุญาตให้โซเชียลเน็ตเวิร์กเหล่านั้นสแกนรายชื่อผู้ติดต่อ หรือบัญชีอีเมล์แอดเดรสของคุณ
  5. การกำหนดค่า “ความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน” (Privacy Setting) เพื่อป้องกันการ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวจากคนแปลกหน้า
  6. ระมัดระวังในการสแกน QR Code ไม่ว่าจะเป็น QR Code ที่ปรากฏตามป้ายโฆษณา เว็บไซต์ หรือเอกสาร ต่าง ๆ เพราะคนร้ายอาจแอบนำ QR Code ที่นำไปสู่เว็บไซต์ปลอมหรือหลอกให้ติดตั้งไวรัสคอมพิวเตอร์

เพราะโลกออนไลน์นั้นเข้าถึงกันได้ง่าย ทุกคนสามารถพูดคุยพบปะกับกันผ่านแค่ปลายนิ้ว โดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงเราไปทั่วโลก เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพไซเบอร์ หากถือปฏิบัติตามข้อแนะนำข้างต้นแล้ว หากไม่แน่ใจหรือมีข้อสงสัย กำลังประสบพบเจอกับสถานการณ์ดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โทร.02 504 4850 จันทร์ – ศุกร์ : 08:30 – 16:30 เว็บไซต์: https://www.ccib.go.th/

Facebook: https://www.facebook.com/CybercopTH/

หรือ หากพี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายจากการอาชญากรรมทางไซเบอร์ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ หรือแจ้งความออนไลน์ได้ด้วยตนเองที่เว็บไซต์ https://www.thaipoliceonline.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง