เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 66 ณ ห้องบอลลูน โรงแรมฮาร์ดร็อคพัทยา กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม จัดการประชุมสัมมนาระดับจังหวัด ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาสำรวจออกแบบท่าเรือต้นทาง (Home Port) สำหรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) บริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยมีนายวรรณชัย บุตรทองดี ผู้อำนวยการกองวิศวกรรม กรมเจ้าท่าเป็นประธานการในประชุม พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมรับฟัง
ซึ่งโครงการดังกล่าวได้มีการสรุปพื้นที่ตั้งของท่าเรือที่คัดเลือกจาก 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี โดยคณะทำงานได้มีความเห็นชอบเลือกพื้นที่บริเวณ แหลมบาลีฮาย พัทยา จังหวัด เป็นพื้นที่ขึ้นโครงการ จะส่งผลดีต่อทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจและท่องเที่ยวระดับภูมิภาคของประเทศไทย
ด้วยศักยภาพของพัทยาที่เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก โรงแรมที่พักจำนวนมาก ใกล้สนามบินอู่ตะเภา และโครงการรถไฟความเร็วสูง มีระบบสาธารณูปโภคครบครัน และด้วยบริเวณอ่าวแหลมบาลีฮายนั้น มีร่องน้ำที่ลึกถึง 15 เมตร ความลึกมาตรฐานอยู่ที่ 12 เมตร รัศมี 1 กม. จึงเหมาะสมแก่การสร้างท่าเรือต้นทาง (Home Port) และท่าแวะพัก (Port of Call)ใช้เส้นทางของเรือสำราญขนาดใหญ่ ทั้งทางกรมเจ้าท่าได้มีการสรุปแบบของท่าเรือเทียบ อาคารผู้โดยสาร และสะพานเชื่อมท่าเรือ
การพัฒนาท่าเรือแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา จะเป็นท่าเรือประเภทผสมผสาน (Hybird Port)
ท่าเรือสำราญ
-สามารถรองรับเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้
-รองรับเรือสำราญเข้าเทียบท่าได้พร้อมกัน 2 ลำ
-ความยาวท่าเทียบเรือ 300 เมตร มีหลักผูกเรือหัวท้าย ทำให้มีความยาวรวม 420 เมตร
อาคารผู้โดยสาร มี 2 ชั้น พื้นที่ 12,090 ตารางเมตร
-สามารถรองรับผู้ใช้งานได้สูงสุด 3,500 – 4,000 คน/เที่ยว
-จุดตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเรือ 16 ช่อง
-จุดเช็คอิน รับบัตรโดยสารขึ้นเรือ 60 ช่อง
-จุดตรวจคนเข้าเมือง 26 ช่อง
-จุดฝากสัมภาระก่อนขึ้นเรือ 6 ช่อง
-สามารถจอดรถบัสได้ 82 คัน จอดรถยนต์ได้ 132 คัน โดยแบ่งเป็น 2 จุด
1.บริเวณอาคารผู้โดยสาร รถบัส 22 คัน และรถยนต์ 82 คัน
2.บริเวณลานจอดรถระยะยาว (Remote car park) รถบัส 60 คัน และรถยนต์ 50 คัน
ได้มีการเชิญชวนภาคเอกชนร่วมลงทุน ในปี 2567 เวลาก่อสร้าง 3 ปี คาดเปิดให้บริการในปี 2570 กำหนดระยะเวลาสัญญาดำเนินงานและบำรุงรักษา 30 ปี โดยรูปแบบการลงทุนท่าเรือสำราญพัทยา เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐเอกชน (PPP) โดยภาครัฐจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเทียบเรือ และทางเข้า ส่วนเอกชนอาจจะลงทุนในส่วนของอาคารผู้โดยสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ประมาณการค่าลงทุนรวม 7,412 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. ค่าลงทุน 5,934 ล้านบาท (ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานนอกชายฝั่ง 4,315 ล้านบาท ท่าเทียบเรือ อาคารผู้โดยสาร 2,881 ล้านบาท สะพานเชื่อมท่าเรือ 675 ล้านบาท ลานจอดรถ 567 ล้านบาท ท่าเรือโดยสาร และเรือเร็ว 192 ล้านบาท) ค่าอุปกรณ์ 400 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 608 ล้านบาท และถนนยกระดับ 1611 ล้านบาท
2.ค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 1,478 ล้านบาท